
รายงานการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ 1 (ภาคกลาง)
ในหัวข้อ "สถานการณ์นักเขียนไทยวันนี้ : คุณภาพ / ปริมาณ"
ณ ห้องประชุมคณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้น 14 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2550 เวลา 8.30 - 17.00 น.
โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-----------------------------------------------
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดการสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ศาสตราจารย์ ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีกล่าวต้อนรับ
ศาสตราจารย์ ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกล่าวว่าในนามของมหาวิทยาลัยยินดีต้อน รับทุกคนที่มาร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ เนื่องจากอยากให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีส่วนช่วยขับเคลื่อนวงการ วรรณกรรมอีกแรงหนึ่ง นอกจากการสัมมนาในครั้งนี้แล้ว อาจารย์วิรุณกล่าวว่าอาจจะจัดกิจกรรมร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย หรือร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ หรือร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการทำโครงการเพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยรัก การอ่านเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
2. อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวชี้แจงความเป็นมาของโครงการ
อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยกล่าวว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อเป็นโอกาสที่นักเขียนจะได้มาพบปะกันมากขึ้น และการจัดทั้ง 4 ภูมิภาคเพื่อให้ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดไม่ต้องเดินทางมาที่ส่วนกลาง แต่จะเดินทางไปยังสถาบันเจ้าภาพในภูมิภาคต่างๆที่อยู่ใกล้แทน การจัดการสัมมนาในครั้งนี้เป็นโครงการที่ขอทุนสนับสนุนจากสำนักศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย ที่อยู่ในการดูแลของศาสตราจารย์อภินันท์ โปษยานนท์ และได้รับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากเอกชน การจัดสัมมนาในลักษณะนี้ก็เพื่อให้เกิดโอกาสที่จะพบปะ สนทนากันเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนางานเขียนร่วมกัน ทั้งในเรื่องของการพัฒนากลวิธี และยังเปิดโอกาสให้ทราบว่าสมาคมนักเขียนฯที่เป็นศูนย์กลางนั้นทำหน้าที่ใด และจะช่วยขับเคลื่อนวงการไปในทิศทางใด ในที่นี้อาจรวมไปถึงการขับเคลื่อนวงการวิชาการด้วย ข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนาฯในครั้งนี้ สมาคมฯจะนำความคิดและข้อเสนอแนะต่างๆไปพิจารณาเพื่อต่อยอดในส่วนของกิจกรรม ต่างๆของสมาคมฯต่อไป ต่อจากนั้นมีการฉายวีดิทัศน์แสดงประวัติความเป็นมาและที่ทำการแห่งใหม่ของ สมาคมนักเขียนฯ
3. การปาฐกถานำ "เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของนักเขียนไทยวันนี้" โดยคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เริ่มปาฐกถานำด้วยการท่องท่อนหนึ่งของกวีนิพนธ์ "ปากกาดอกกุหลาบ" ความว่า
ปากกาเป็นอาวุธ อันยุทธ์ยงอยู่คงคำ
ทระนงดังธงนำ ประกาศสัจธรรมเสมือน
ใครกุมปากกาทาส แลใครกุมปากกาไท
ใครอยู่แม้ยามไป แลใครไปแม้ยามเป็น
ปากกายังจารึก ไม่เปลี่ยนหมึกไม่เปลี่ยนประเด็น
คงสีและคงเส้น เป็นธงทิวไม่เปลี่ยนทาง
หนึ่งดอกกุหลาบแดง สำแดงคารวะวาง
ประดับไว้ ณ ใจกลาง ปากกา "ศรีบูรพา"
การที่ยกตัวอย่างศรีบูรพาก็เนื่องจากว่าชีวิตและผลงานนับเป็นตัวอย่างที่ ดีที่แสดงให้เข้าใจความหมายของคำว่าเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีได้อย่างเด่น ชัด ศรีบูรพานับว่าเป็นผู้ที่ชูคบไฟฝ่าความมืดของยุคสมัยในช่วงหนึ่งซึ่งไม่ต่ำ กว่า 30 ปี งานของศรีบูรพาไม่เพียงแต่สะท้อนยุคสมัย แต่ยังส่องให้เห็นยุคสมัยอันเจ็บปวดและการต่อสู้ของสังคมไทย งานของท่านจึงเป็นเสมือนประทีปส่องทางให้เห็นความฝัน ความใฝ่ฝันของสังคมของนักเขียนไทย จึงเป็นเสมือนคันฉ่องส่องความงามและความดี และเป็นโคมฉายชีวิตคน
คุณ เนาวรัตน์เห็นว่ายุคสมัยที่ต้องการสะท้อนและส่องทางนั้นมีมาโดยตลอดไม่เพียง แต่ในสังคมไทยเท่านั้น แต่สามารถพบเห็นได้ในทุกที่ เนื่องจากมนุษย์ต้องต่อสู้เพื่อสร้างยุคของตน ดังนั้น งานเขียนและงานวรรณกรรมจึงยังคงอยู่เสมอ งานเขียนของทุกประเทศจึงช่วยให้เรารู้สึก รู้ลึก และรู้รอบ เนื่องจากงานศิลปะจะเน้นหนักที่อารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อชีวิตของมนุษยชาติ อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้นับเป็นสิ่งสากลที่พ้นจากเชื้อชาติ ภาษา และกาลเวลา จึงต่างจากงานประวัติศาสตร์ที่เน้นในเรื่องเรื่องราวและข้อเท็จจริง
คุณเนาวรัตน์กล่าวว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมามีการสร้างเส้นทางหลักอยู่ 3 แนวทาง คือ
1. การปกครอง ของปรีดี พนมยงค์ เป็นการคืนอำนาจสู่ประชาชน
2. วรรณกรรม ของศรีบูรพา เป็นการคืนอุดมคติสู่อุดมการณ์
3. พุทธศาสนา ของท่านพุทธทาส เป็นการคืนพุทธธรรมสู่พุทธศาสน์
ทั้ง 3 แนวทางนับเป็นเส้นทางหลักของสังคมทุกสังคม เนื่องจากเส้นทางหลักของสังคมกำหนดด้วยการเมือง (รวมเศรษฐกิจและสังคม) โดยอาศัยงานศิลปะเพื่อสื่อจากใจสู่ใจคน และงานพุทธธรรมก็นับเป็นงานที่สำคัญสูงสุด เพราะว่าธรรมะของทุกศาสนาจะกำหนดความเห็นถูกและผิดของคน ด้วยเหตุนี้ คุณเนาวรัตน์จึงเห็นว่าผู้ที่ทำงานศิลปะต้องเป็นผู้ที่มีความเห็นที่ถูก ต้อง ต้องเข้าใจและถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองเข้าใจไปสู่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องด้วย นักเขียนจึงต้องมีจิตสำนึก และจิตสำนึกนี้เองที่จะช่วยชี้ขาดในงานทุกประเภท โดยคุณเนาวรัตน์แบ่งจิตสำนึกออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. จิตสำนึกเพื่อตัวเอง ซึ่งจะมีแนวโน้มไปในทางเห็นแก่ตัว
2. จิตสำนึก เพื่ออุดมการณ์และเพื่อมนุษยชาติ จะเน้นการสร้างานเพื่อความฝันและความใฝ่ฝัน โดยเป็นการมุ่งไปที่เป้าหมาย โดยไม่คำนึงถึงเหตุ และไม่หาจุดเริ่มต้น แต่จะมองไปจนสุดฟ้า
3. จิตสำนึก ทางการเมือง จะช่วยให้มองอย่างเป็นระบบ ทำให้มองเห็นเหตุและผล แต่การเมืองถูกทำให้เป็นเรื่องสกปรก จนทำให้เป็นเรื่องติดลบและน่ารังเกียจ
คุณเนาวรัตน์เชื่อว่าจิตสำนึกจะเป็นตัวชี้ขาดการทำงาน สำหรับแนวทางการทำงานนั้น คุณเนาวรัตน์เห็นว่าควรมี 4 อย่า 5 ต้อง ที่นักเขียนและผู้ทำงานศิลปะควรจะมี 4 อย่า คือ
1) อย่าตกยุค
2) อย่าล้ำยุค
3) อย่าหลงยุค และ
4) อย่าประจบยุค
ส่วน 5 ต้อง คือ
1) ต้องทันยุค
2) ต้องเป็นปากเสียงผู้เสียเปรียบ
3) ต้องตัดทัศนะปัจเจก (อหังการและอวดดี) โดยต้องเห็นแก่ส่วนรวมและมีธรรมาธิปไตย
4) ต้องมีจิตสำนึกทางการเมือง และ
5) ต้องทำงานดุจราชสีห์ (ที่ไม่ใยดีกับมงกุฎที่สวมครอง และไม่ยินดีที่จะเอาคราบสัตว์อื่นมาสวมครอบด้วย)
4. การอภิปราย "สถานการณ์นักเขียนไทย-ในท่ามกลางกระแสสังคม" โดย อัศศิริ ธรรมโชติ วัฒน์ วรรลยางกูร โชคชัย บัณฑิต และ "กิ่งฉัตร" ดำเนินรายการโดย อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง
คุณอัศศิริ ธรรมโชติ กล่าวว่ากระแสสังคมในทุกวันนี้สับสนและสลับซับซ้อน โดยมีความเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจและการเมือง คนไทยในยุคนี้รู้สึกตระหนกกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้คนหัวใจสลาย หรือบางคนก็เบื่อและเซ็ง ในฐานะที่คุณอัศศิริเป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ในยุคแรกที่เริ่มทำงานเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วนั้นพบว่านักเขียนในสมัยนั้นทำงานง่ายกว่านี้ เนื่องจากสังคมไม่สลับซับซ้อนในเหตุการณ์มากเท่านี้ สามรถแยกขาวและดำได้อย่างชัดเจน เนื่องจากสังคมไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเหมือนในปัจจุบัน ในยุคก่อนที่ยังไม่ใช่ยุคข่าวสารข้อมูลนั้น โดยเฉพาะในช่วงยุค 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 25149 ที่สื่อจริงๆในสมัยนั้นคือหนังสือพิมพ์และหนังสือ นักเขียนคือหัวหอกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม บทบาทนี้จึงขึ้นอยู่กับนักเขียนเป็นส่วนมาก นักเขียนในที่นี้รวมถึงนักเขียนคอลัมน์ต่างๆในหนังสือพิมพ์ด้วย คุณอัศศิริเห็นว่าสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงในช่วงพฤษภาทมิฬ ที่เกิด "ม็อบมือถือ" แล้วก็เริ่มเข้าสู่ยุค IT และโลกาภิวัตน์ จึงส่งผลให้สังคมซับซ้อนขึ้นและมองยากขึ้น นับเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่สังคมบริโภคนิยม และเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมือง เริ่มมีสื่อหลากหลายขึ้นที่เข้ามามีบทบาทในสังคม อีกทั้งสังคมในยุคใหม่นี้ผันผวนมาก เนื่องจากเป็นสังคมที่เงินเป็นใหญ่ ทุกคนทำงานเพื่อให้ได้เงิน ทำให้เกิดค่านิยมของการต้องการเงินเพื่อให้อยู่รอด คนที่ไม่มีเงินคือคนที่ไร้ศักดิ์ศรีโดยสิ้นเชิง และยังเป็นสังคมสารสนเทศที่สื่อต่างๆมุ่งสร้างค่านิยมการบริโภคขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการของคนในสังคมปัจจุบันต้องการในรูปของรูปแบบที่เป็นแพ็กเกจ โดยละเลยเนื้อหา รวมไปถึงการละเลยศิลปะและวัฒนธรรมด้วย
คุณอัศศิริเห็นว่านักเขียนปัจจุบันไม่ได้เป็นเครื่องมือหรือหัวหอก ทางวัฒนธรรมอีกต่อไป แต่กลายเป็นส่วนประกอบทางวัฒนธรรม ส่วนการทำหนังสือในปัจจุบันทำให้นักเขียนต้องกลายเป็นนักการตลาดไปด้วย กล่าวคือเป็นทั้งเขียนและทั้งขายหนังสือเอง จากการที่ได้สนทนากับนักการตลาดทางด้านหนังสือจึงทราบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่ง ผลต่อการซื้อหนังสือของคนในสังคมคือ 1) ชื่อเรื่อง 2) ปก และ 3) ผู้เขียน
นอกจากนี้ คุณอัศศิริ แนะนำวิธีการพัฒนาของนักเขียนสมัยนี้ โดยแบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) ต้อง ติดตามข่าวสารบ้านเมือง เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่ข่าวสารท่วมโลก ที่มีเกิดการสร้างวัฒนธรรมใหม่และมิติใหม่ๆหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้นักเขียนควรที่จะต้องศึกษาและแยกแยะ และปัจจัยหลักที่ทำให้เรายังสับสนในสังคมเนื่องจากเราขาดการศึกษาและแยกแยะ ว่าอะไรผิด อะไรถูก
2) ควรจะทวนกระแสในมุมมองของนักเขียน เนื่องจากเป็นการยากที่จะให้ผู้ที่อยู่ชายขอบของสังคมเป็นที่รู้จักและสนใจ จากคนส่วนใหญ่ในสังคม ดังนั้น นักเขียนจึงต้องนำชีวิตเหล่านี้มาเผยแพร่ให้เห็น
3) การอยู่ท่ามกลางความ ขัดแย้งของสังคม เนื่องจากสังคมที่เป็นประชาธิปไตยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ แต่ควรที่จะมีการป้องกันความแตกแยกในสังคม โดยนักเขียนควรมีหน้าที่สร้างความปรองดองในสังคมให้มีสันติ หลีกเลี่ยงความรุนแรง เพราะทุกชีวิตมีคุณค่า
คุณวัฒน์ วรรลยางกูรกล่าวว่าตนเองโชคดีที่อยู่ในยุคที่ไม่สับสน คืออยู่ในช่วงระหว่างปี 2516 -2525 ผู้คนยังสนใจการอ่านและการเขียน เมื่อมีผู้ใดเขียนงานออกมาก็ได้รับการตอบรับอย่างคึกคัก หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ในช่วงนันจะพบว่าเกิดนักเขียนและงานดีๆเป็น จำนวนมาก ในช่วงนั้นงานมักจะสะท้อนความเป็นไปของสังคมทั้งในประเทศและสังคมโลก โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 ที่กระแสความคิดของตะวันตกไหลบ่าเข้ามาในสังคมไทย จึงเกิดงานวรรณกรรมดีๆ เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ช่วง 2470 -2480 มีงาน "ละครแห่งชีวิต" ของ ม.จ. อากาศดำเกิง ระพีพัฒน์ ช่วง 2590 -2500 มีงานของเสนีย์ เสาวพงษ์ ศรีบูรพา อิศรา อมันตกูล และ ลาวคำหอม ส่วนในกระแสโลกก็มีความตื่นตัวในเรื่องของแนวคิดสังคมนิยมในประเทศจีน การเกิดความขัดแย้งในเกาหลี จนแยกเป็นเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ ต่อจากนั้นในช่วง 14 ตุลาคม 2516 กระแสโลกมีการต่อต้านสงครามเวียดนาม ส่วนในสังคมไทยก็เกิดความต้องการที่จะเป็นอิสระจากอำนาจเผด็จการที่ปกครอง ประเทศมานานนับ 10 ปี นักเขียนในช่วงนี้ก็จะเป็นไปตามกระแสสังคม
คุณวัฒน์กล่าวว่าโดยส่วนตัวไม่เคยหมดหวัง แต่ยังคงรักษาความมุ่งมั่นในการเขียนเอาไว้ นอกจากนี้ คุณวัฒน์เห็นว่าระบบการอ่านของเยาวชนในสังคมไทยสามารถแก้ไขได้ แต่ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการกระตุ้นให้เด็กไทยรักการอ่าน ได้ เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบในส่วนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างจริงจัง และขาดผู้ที่จะมาผลักดันจริงๆทั้งจากรัฐและนโยบาย ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากผู้มีอำนาจกลัวว่าการอ่านจะทำให้คนกล้าคิดและ กล้าตั้ง
คำถาม
คุณโชคชัย บัณฑิตเห็นว่างานวรรณกรรมที่อ่านในนิตยสารและวารสารต่างๆนั้น ผ่านการคัดกรองมาจากบรรณาธิการก่อน ในขณะเดียวกับบรรณาธิการเหล่านั้นก็ให้แนวทางแก่นักเขียนด้วย นอกจากนี้ คุณบัณฑิตเล่าว่าเขาเติบโตมากับการจัดสัมมนาวรรณกรรม และการประชุม "กวีนัดพบกวี" ที่จัดขึ้นในช่วงประมาณปี 2525 เป็นต้นมา นับเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักเขียนมาพบปะและแลกเปลี่ยนทัศนะทางด้าน การเมืองและสังคม กิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของนักเขียน เช่น กลุ่ม "กาแล" ของนักเขียนภาคเหนือ และกลุ่ม "นาคร" ของนักเขียนภาคใต้
ส่วนมุมมองของนักเขียนปัจจุบันที่มีต่อสังคมนั้น คุณโชคชัยเห็นว่ากวีคือ "กลุ่ม NGO ที่ต่อมโรแมนติกโตผิดปกติ" คือกวีสร้างสรรค์มักจะยืนอยู่ข้างผู้เสียเปรียบในสังคม และสะท้อนมุมมองของผู้เสียเปรียบ จนเป็นเสมือนเป็นปากเสียงแทนผู้เสียเปรียบ รวมทั้งการสะท้อนความรู้สึกของยุคสมัยออกมาให้ผู้คนในสังคมได้รู้จัก โดยส่วนตัว คุณโชคชัยนิยมสะท้อนสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ไม่ได้ชี้ทางแก้ปัญหา เพราะต้องการให้ผู้อ่านฉุกคิดเองว่าเหตุใดจึงสะท้อนออกมาในแง่มุมนี้
คุณโชคชัยเห็นว่าทางลัดของนักเขียนในปัจจุบันคืออินเตอร์เน็ต โดยการนำเรื่องที่เขียนไปลงในเว็บไซต์ หรือเว็บบอร์ด ก็สามารถที่จะแสดงผลงานของตนได้โดยทันที ในแง่หนึ่งการนำเสนอในสื่อนี้ก็ดีเนื่องจากเป็นการเสนอเรื่องให้ผู้อ่านอ่าน ได้โดยตรง แต่จุดอ่อนคือขาดผู้คัดกรอง แต่อย่างไรก็ดี นักเขียนก็มักจะสะท้อนสังคมออกมาในวิถีทางของตน อีกทั้งยังเสนอว่าควรที่จะอ่านงานที่นักวิชาการย่อยมาแล้วก็จะช่วยให้เข้าใน สถานการณ์ของสังคมได้ชัดเจนขึ้น และอาจจะนำสิ่งที่ได้จากการอ่านเหล่านั้นมานำเสนอผ่านทิศทางและแนวทางของตน สำหรับการที่จะให้กวีนิพนธ์ไปสู่ประชาชนในวงกว้างขึ้นนั้น อาจจำเป็นการปรับเปลี่ยนช่องทางในการนำเสนอคืออาจนบทกวีมาถ่ายทอดในรูปของบท เพลง หรือให้มีการอ่านบทกวีบนเวทีคอนเสิร์ตก่อนที่จะเริ่มแสดงดนตรี
"กิ่งฉัตร" กล่าวว่าผู้ที่จะเป็นนักเขียนในสมัยก่อนนั้นเกิดยากมาก เนื่องจากต้องผ่านระบบการคัดกรองจากบรรณาธิการ แต่ปัจจุบันสื่ออินเตอร์เน็ตนับเป็นช่องทางที่ทำให้เป็นนักเขียนได้อย่าง ง่ายดาย จนบางครั้งก็เกิดคำถามกับตัวเองว่าสิ่งที่เราทำมากว่า 10 ปี เพื่อที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียน กลับกลายเป็นเรื่องง่ายๆของนักเขียนรุ่นใหม่ และนักเขียนที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่เหล่านี้มักจะไม่สนใจขนบทางวรรณกรรมหรือ อ่านงานวรรณกรรมเก่าๆ เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้มักจะมั่นใจในตัวเองสูงมาก ก้าวไปเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวให้ทันสื่อ ดังนั้น หากจะตามยุคให้ทันก็ต้องตามกระแสสังคมให้ทันอยู่เสมอ ในงานของนักเขียนรุ่นใหม่มักจะสะท้อนแนวคิดวัตถุนิยมอย่างชัดเจนมาก ขณะเดียวกันพวกเขาก็จะไม่สนใจกับคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จึงอยากกระตุ้นให้นักเขียนที่เป็นคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ให้มากขึ้น นอกจากนี้จะพบว่าชื่อหนังสือของนักเขียนที่เป็นคนรุ่นใหม่นั้นมักจะเป็น กระแส หรือเป็นแฟชั่นที่ "เล่น" กับความอยากรู้ของวัยรุ่นจริง ดังนั้น การจะปลูกฝังแนวคิดเรื่องต่างๆกับวัยรุ่นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเยาวชน ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา โดยต้องปลูกฝังแนวคิดการรักการอ่านอย่างถูกต้อง โดยมุ่งเน้นไปที่นักเขียนและนักอ่านรุ่นเด็ก เนื่องจากแต่เดิมเชื่อว่าการปลูกนิสัยรักการอ่านให้แก่เยาวชน คือให้เขาอ่านอะไรก็ได้ แต่ขอให้เขาอ่านก่อน แต่ในปัจจุบันก็มักจะเกิดคำถามในความเชื่อนี้แล้ว โดยอาจจำเป็นต้องมีการคัดกรองหนังสือ โดยเลือกเฉพาะหนังสือที่สามารถพัฒนาการอ่านของเขาได้ เพราะในปัจจุบันมีหนังสือเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ร้านหนังสือควรให้การสนับสนุนการเลือกสรรและคัดสรรหนังสือดีและหนังสือเชิง สร้างสรรค์เพื่อสร้างการอ่าน และควรมีการนำหนังสือที่มีคุณค่าเข้าห้องสมุด เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสอ่านหนังสือที่มีคุณภาพ หรือควรมีการจัดสัมมนาในโรงเรียนเพื่อให้เยาวชนเข้าใจมากขึ้น
5. การเสนอผลอภิปรายกลุ่มย่อย ในหัวข้อ "สถานการณ์นักเขียนไทย - จะก้าวไปทางไหนดี"
5.1 กลุ่มกวีนิพนธ์
ตัวแทนกลุ่มกวีนิพนธ์เสนอความเห็นที่ได้การประชุมกลุ่มว่ากวีนิพนธ์ เป็นงานที่ไม่ค่อยมีผู้อ่าน โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่จะเห็นว่างานแนวขนบหรือแนวอนุรักษ์เป็นสิ่งที่น่า เบื่อและเชย เยาวชนรุ่นใหม่จะเรียกภาษากวีของกลุ่มนี้ว่า "ภาษาเทวดา" นอกจากนี้ ในสังคมยังขาดวัฒนธรรมการอ่าน เนื่องจากระบบการศึกษาได้ถอดการอ่านอาขยานออกจากหลักสูตร จึงทำให้เด็กไม่ได้สัมผัสกับเสียงหรือทำนองเสนาะ จึงทำให้ห่างไกลกับกลอน โคลงต่างๆมากขึ้น ประกอบกับครูผู้สอนก็มิได้เป็นผู้ที่แม่นยำในฉันทลักษณ์มากสักเท่าใด จึงเกิดปัญหาในการถ่ายทอด อีกทั้ง การเขียนกวีนิพนธ์เพื่อเผยแพร่ในปัจจุบันแบ่งสื่ออกเป็น 2 แบบ คือ 1) สื่อสิ่งพิมพ์ และ 2) อินเตอร์เน็ต สำหรับการนำเสนอกวีนิพนธ์ในสื่อสิ่งพิมพ์มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนหน้า เนื่องจากสื่อให้พื้นที่ในส่วนของกวีนิพนธ์น้อยมาก ทำให้ผู้ที่ส่งงานเข้าไปนั้นมีโอกาสลงพิมพ์ยากมาก และความเห็น รสนิยม และมาตรฐานของบรรณาธิการก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินด้วย รวมไปถึงนโยบายของหนังสือก็มีส่วนสำคัญ กล่าวคือ บางเล่มก็เน้นงานแนวกุ๊กกิ๊ก ก็จะมาที่สำหรับกลอนเปล่า บางเล่มก็เน้นกวีนิพนธ์การเมือง ดังนั้น การจะส่งบทกวีไปให้นิตยสารฉบับใดก็คงต้องเลือกส่งไปให้ตรงกับแนวที่นิตยสาร ฉบับใดต้องการด้วย
สำหรับทางแก้ของปัญหาเหล่านี้นั้นก็มีการเสนอในหลายวิธีคือ
- ควรมีการจัดทำสรรนิพนธ์บทกวี อาจจะจัดทำบทกวียอดเยี่ยมคัดสรรเป็นประจำทุกปี เนื่องจากงานสรรนิพนธ์นี้ นอกจากจะเป็นที่รวมของบทกวีที่ดีในแต่ละปีแล้ว ยังช่วยให้ผู้อ่านทั่วไปติดตามหางานของกวีผู้ใดผู้หนึ่งที่น่าสนใจต่อไปก็ เป็นได้ และยังเสนอว่าได้ควรอ่านงานสรรนิพนธ์กวีนิพนธ์ของโครงการวิจัย "กวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย" ทั้ง 5 เล่ม เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ไปสู่กวีชาติอื่นๆด้วย
- ควรมีผลงานกวีที่หลากหลายเพื่อตอบสนองและตอบโจทย์กลุ่มผู้อ่านทุกกลุ่ม
- สำหรับการสอนนักเรียนเกี่ยวกับกวีนิพนธ์นั้น อาจารย์ท่านหนึ่งเห็นว่าครูผู้สอนไม่ควรกังวลหรือยึดติดกับรูปแบบมากจนเกิน ไป เนื่องจากกวีนิพนธ์นับเป็นเรื่องง่าย ถ้าสามารจับจังหวะได้ กวีนิพนธ์ก็ไม่ต่างจากบทเพลง ดังนั้นจึงควรสอนให้เยาวชนเห็นว่ากวีนิพนธ์เป็นของง่าย โดยสนับสนุนให้เยาวชนกล้าเขียน กล้าแสดงความเห็น แล้วจึงค่อยๆขัดเกลาไปเรื่อยๆ เมื่อสนใจแล้วจึงค่อยๆเพิ่มในเรื่องของฉัทนลักษณ์เข้าไป
- ควรมีนิตยสารเช่นครั้งหนึ่งที่เคยมี เช่น ไรเตอร์ เพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้และนำเสนอทิศทางเพื่อชี้ให้เห็นแนวทางและความ เคลื่อนไหวของกวีร่วมสมัย
- เสนอว่าในมหาวิทยาลัยควรมีการจัดเสวนาในเรื่องนี้ให้ชัดเจนขึ้น หรือตามห้องสมุดของโรงเรียนก็ควรมีหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าไว้ด้วย เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านกวีนิพนธ์ให้กับเยาวชนด้วย
- อาจจะมีการทำอย่างที่โรงเรียนมัธยมในอเมริกา คือมีการอ่านบทกวีคัดสรรให้นักเรียนทั้งโรงเรียนฟังทุกวัน วันละ 1 บท เพื่อให้กวีนิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และไม่แปลกแยกจนเกินไป
- อาจมีการทำให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงกวีนิพนธ์มากขึ้น โดยอาจจะจัดให้มีการอ่านกวีประกอบเพลง ประกอบวีดิทัศน์ หรือประกอบภาพ เพื่อให้เข้าใจกวีนิพนธ์มากขึ้น
- อาจมีการจัดอบรมเพื่อให้เขียนกวีอย่างถูกต้อง ในการประชุมกลุ่มครั้งนี้มีอาจารย์ภาษไทยผู้หนึ่งยินดีที่จะเป็นวิทยากรให้ ในประเด็นนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมผู้หนึ่งยกตัวอย่างว่าในปัจจุบันคุณภัทราว ดี มีชูธน มีการสอนเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ที่ภัทราวดีเธียร์เตอร์ ทุกวันอาทิตย์ โดยใช้กลวิธีให้เด็กสนุกและเข้าถึงกวีนิพนธ์ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมของเด็กเป็นจำนวนมาก
- สำหรับปัญหาเรื่องพื้นที่นั้นในปัจจุบันก็แก้ไขด้วยการนำ เสนอกวีนิพนธ์ในอินเตอร์เน็ตมากขึ้น จึงมีผู้เสนอว่าในอินเตอร์เน็ตน่าจะมีทั้งการเขียน การอ่าน และการแนะนำเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ด้วย
- ผู้เข้าร่วมประชุมผู้หนึ่งเห็นว่าไม่ควรไปฝากความหวังในการพัฒนา เกี่ยวกับกวีนิพนธ์ไว้ที่ผู้อื่น แต่ทุกคนควรเริ่มทำในส่วนของตัวเองก่อน และได้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ได้ทำมาแล้ว เช่น การนำมาวรรคดีเก่ามาเล่าใหม่ให้สนุกขึ้น การสอนการแต่งโคลงในเว็บบอร์ด จนสามารถสร้างกลุ่มผู้รักการแต่งโคลงขึ้นมาได้ และกำลังจัดอบรมครูภาษาไทยเพื่อให้สอนภาษาไทยอย่างสนุก
5.2 กลุ่มเรื่องสั้น
ตัวแทนกลุ่มเรื่องสั้นกล่าวว่าสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัย รุ่นที่สนใจอ่านและกำลังเริ่มต้นเขียนเรื่องสั้น ความเห็นที่ได้จากกลุ่มนั้นสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
- เรื่องสั้นมีสนามให้ประลองน้อยมาก และน้อยเกินไป โดยเฉพาะในสื่อสิ่งพิมพ์ จึงส่งผลอย่างมากต่อนักเขียนหน้าใหม่ที่จะเกิดได้ยากและมีชื่อเสียงยากมาก
- เรื่องสั้นจะเป็นงานวรรณกรรมที่วัยรุ่นอ่านน้อยมาก เนื่องจากเป็นงานที่อ่านยาก เยาวชนจึงไม่อ่าน จึงเสนอว่าน่าจะมีช่องทางให้กับเรื่องสั้นของเยาวชนมากขึ้น
- เรื่องสั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเรื่องสั้นสมัยใหม่ เนื่องจากนักเขียนยังไม่สามารถเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์และความลึก ซึ้งในการประเมินสถานการณ์ยังไม่ลึกซึ้งพอ ประกอบกับภาษาวรรณศิลป์ก็ยังไม่ดี โดยเฉพาะนักเขียนที่เป็นวัยรุ่นที่จะนำเสนองานในรูปของภาษาพูดและบทสนทนา เป็นหลัก
- เรื่องสั้นรุ่นเก่ายังถือว่าเป็นงานที่มีคุณภาพอยู่ และยังมีการพูดถึงงานเขียนชั้นครูอยู่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีงานเขียนที่จะทัดเทียมกับงานเรื่องสั้นชั้นครู ได้ จึงส่งผลให้วงการเรื่องสั้นไม่เติบโตเท่าที่ควร
- เสนอว่าน่าจะมีการเปิดพื้นที่ให้เรื่องสั้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในนิตยสารต่างๆ เช่น เปิดพื้นที่เฉพาะสำหรับนักเขียนวัยรุ่นด้วย
- เสนอให้มีการเสนอแนะวิธีการเขียนเรื่องสั้นแก่ผู้เริ่มเขียน และควรมีคอลัมน์และกิจกรรมเกี่ยวกับการเขียนเรื่องสั้น
- น่าจะมีการเปิดโอกาสให้นักเขียนเรื่องสั้นมืออาชีพมาแลกเปลี่ยนกับ นักเขียนมือใหม่ หรือการรวมกลุ่มผู้สนใจเขียนเรื่องสั้นให้คึกคักมากขึ้น
- ควรนำงานเขียนเรื่องสั้นชั้นครูมาพิมพ์เผยแพร่ให้นักเขียนรุ่นใหม่ได้รู้และใช้เป็นแนวทางในการเขียนเรื่องสั้นต่อไป
5.3 กลุ่มนวนิยาย
ตัวแทนกลุ่มนวนิยายกล่าวว่าสมาชิกในกลุ่มสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) นักเขียนมืออาชีพ 2) นักเขียนมือใหม่ และ 3) นักเขียนที่เพิ่งหัดเขียน สำหรับประเด็นในการอภิปรายมี ดังนี้
5.3.1 การหัดเขียนนวนิยาย นักเขียนรุ่นใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเขียนและการนำเสนอเรื่องให้สำนัก พิมพ์ ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน สำหรับนวนิยายแนวแฟนตาซี และแนวผจญภัยนั้น ผู้อ่านยังนิยมหนังสือแปลมากกว่าหนังสือที่นักเขียนไทยเขียนเอง ส่วนแนวทางแก้ปัญหาที่นักเขียนอาชีพเสนอคือ หากพิจารณาจากมุมมองของบรรณาธิการจะพบว่า บรรณาธิการชอบ 1) ความแปลกใหม่ โดยเนื้อเรื่องต้องดึงดูดใจและไม่ยาวจนเกินไป เพราะต้องพิจารณากระแสตอบรับจากตลาดด้วย 2) กระแสของตลาด แต่หากเป็นแนวนอกกระแส ก็ต้องเป็นเรื่องที่สนุกสนานและน่าสนใจ และ 3) สำนวนและโวหารต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่ง
5.3.2 การเขียนนวนิยายโรมานซ์กับฉากเลิฟซีน นับเป็นแนวที่ได้รับความนิยมมากและมีนักเขียนในแนวนี้มาก อย่างไรก็ดีนักเขียนก็ควรมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่สื่ออกไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของฉากเลิฟซีน
5.3.3 การเขียนเครื่องหมายอีโมติคอน (emoticon) อีโมติคอนมาจาก คำว่า emotion + icon คือการนำเครื่องหมายวรรคตอนมาแสดงให้เป็นภาพเพื่อใช้แทนข้อความหรืออารมณ์ เป็นที่นิยมมากในนวนิยายของนักเขียนเยาวชน ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าเมื่อนักเขียนเยาวชนเหล่านั้นโตขึ้นควรที่ จะต้องศึกษาวิธีการบรรยายเพื่อนำมาใช้แทนเครื่องหมายอีโมติคอน
5.3.4 การตอบโจทย์การตลาดมากไป จนขาดเอกลักษณ์ของตนเอง และกลายเป็นการตลาดไป ในปัจจุบันสำนักพิมพ์มักเน้นที่กระแสของตลาดอย่างมาก จะพบว่างานวรรณกรรมบางชิ้นแม้ว่าจะมีคุณภาพดี แต่อาจไม่ได้รับการตีพิมพ์ก็ได้ หากงานไม่ได้กำไร ในประเด็นนี้ "กิ่งฉัตร" เห็นว่าการเขียนนวนิยายให้มีคุณภาพและสนุกก็สามารถกระทำได้ โดยที่นักเขียนต้องมีจุดยืนและรักษาคุณภาพของงานเขียนไว้ โดยที่คุณภาพและปริมาณก็ควรจะต้องมีความพอเหมาะพอดีกันด้วย
5.3.5 ภาษาและสำนวนของคนที่เปลี่ยนตามยุคสมัย ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นว่านักเขียนรุ่นใหม่มักจะไม่อ่านงานรุ่นเก่า เนื่องจากมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก จึงเสนอว่าน่าจะมีการจัดกลุ่มนักอ่านให้มาเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ วิจารณ์งานร่วมกัน เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยอาจจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆก่อนแล้วจึงจะค่อยๆขยายตัวออกไป นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันร่วมกันของนักอ่าน นอกจากนี้ยังเห็นว่านักเขียนควรที่จะมีความพิถีพิถันในการเลือกใช้ภาษา เนื่องจากนักเขียนที่ประสบความสำเร็จจะมีการเลือกใช้ภาษาและมีความชัดเจนใน ตัวงาน จึงเห็นว่านักเขียนรุ่นใหม่ไม่ควรรีบร้อนในการเขียนงานมากเกินไป และควรคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อ่านด้วย คุณปิยะพร ศักดิ์เกษม แนะนำว่านักเขียนไม่ควรรีบร้อนที่จะเขียน อย่าหลงในงานของตน ควรมีความมั่นคง และพัฒนางานของตนต่อไปเรื่อยๆ ส่วน "กนกวลี" กล่าวว่างานเขียนที่มีคุณภาพนั้นจะพิจารณาจาก 1) เนื้อหา 2) ภาษา 3) ความคิด และ 4) จิตสำนึกในงาน
5.4 กลุ่มสารคดี
ผู้แทนกลุ่มสารคดีกล่าวว่าในกลุ่มเห็นว่าสารคดีเป็นเสมือน "ลูกเมียเก็บ" หรือนักเขียนสารคดีบางคนเห็นว่าสารคดีคือ "ลูกผัวทิ้ง" คือแม้ว่าจะเป็นงานที่มีคุณค่า แต่มักไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าใดนัก เนื่องจากผู้พิมพ์จะพิจารณาที่การตลาดและเรื่องของผลกำไรเป็นหลัก ในกลุ่มเห็นว่าปัญหาของสารคดีคือ งานไม่ค่อยได้รับการตอบรับ การนำเสนองานยากมาก เนื่องจากมีกลุ่มผู้อ่านในวงแคบ มีพื้นที่น้อย และผู้เขียนได้เงินค่าตอบแทนน้อย ในขณะที่การทำสารคดีนับเป็นการสร้างงานจากอุดมการณ์ และความมีใจรัก แต่ก็ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากในการเก็บข้อมูลสนาม รวมทั้งต้องใช้พลังและความมุ่งมั่นของผู้เขียนอย่างมาก แต่บางครั้งงานที่นำเสนอไปก็ถูกเก็บเรื่องหรือถูก "ดอง" ไว้เฉยๆ ประกอบกับไม่มีหน่วยงานใดที่จะสนับสนุนการเขียนสารคดี
ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอทางแก้ปัญหาที่พบ โดยเสนอว่าควรมีการให้รางวัลซีไรต์และรางวัลศิลปินแห่งชาติกับนักเขียน สารคดีด้วย (สมาชิกกลุ่มสารคดีได้เข้าชื่อกันยื่นข้อเรียกร้องนี้กับนายกสมาคมนักเขียน แห่งประเทศไทยเพื่อให้เสนอเรื่องนี้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป) นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่รู้จัก เข้าถึง และเขียนงานสารคดีด้วย คือการเปิดพื้นที่ในการอบรมแล้ว ควรที่จะมีพื้นที่ให้เด็กที่เริ่มเขียนลงเพื่อเป็นการต่อยอดในการอบรมการ เขียนสารคดีต่อไป หรืออาจจะมีทุนสนับสนุนในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล อีกทั้งยังเสนอว่าสมาคมนักเขียนฯควรทำรายชื่อนักเขียนสารคดีประมาณ 100 ชื่อเพื่อให้คนทั่วไปรู้จักนักเขียนสารคดี
6. การปิดการสัมมนา โดย อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง
อาจารย์ชมัยภรกล่าวว่าจากการประชุมกลุ่มย่อยที่ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม เสนอนั้น สามารถที่จะสรุปได้ดังนี้ นวนิยายเป็นรูปแบบวรรณกรรมที่พัฒนาเร็วเกินไป จนทำให้เกิดการวิตกกังวลในเรื่องของคุณภาพของงาน โดยเฉพาะผลงานที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต เรื่องสั้นนั้นก็เป็นงานวรรณกรรมที่ช้าเกินไป เพราะกว่าที่งานจะได้รับการคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์สัก 1 ชิ้น ก็ใช้เวลานานมาก และกว่าที่จะรวมเล่มงานเรื่องสั้นที่ได้รับการตีพิมพ์ก็ยิ่งนานเข้าไปอีก รวมทั้งยังมีความกังวลว่าไม่มีงานเรื่องสั้นที่มีคุณภาพ อาจารย์ชมัยภรจึงติงว่าที่ประชุมอาจจะลืมว่าในการประชุมทางวรรณกรรมหลาย ครั้งที่ผ่านมาก็จะได้ข้อสรุปตรงกันคือ เรื่องสั้นนับเป็นรูปแบบงานวรรณกรรมที่พัฒนาไปได้มากที่สุด และก็มีนักเขียนเรื่องสั้นคุณภาพหลายคน เช่น ไพฑูรย์ ธัญญา มาลา คำจันทร์ และกนกพงศ์ สงสมพันธ์ เนื่องจากงานเรื่องสั้นเหล่านั้นเกิดจากราก โดยเฉพาะในเรื่องของท้องถิ่น เมื่อเกิดแล้วก็จะเกิดจริงๆ และมีพลังแรงมาก ส่วนกวีนิพนธ์นั้นมีความกังวลในเรื่องของความไม่ทันสมัย ความน่าเบื่อของงานมรดกของเราเอง เพราะกรอบเหล่านั้นทำให้เกิดความคิดในเชิงอนุรักษ์สูง จนทำให้เกิดการปฏิเสธจากเยาวชนรุ่นใหม่ สำหรับสารคดีนั้นเขียนยาก ในขณะเดียวกันก็ถูกละเลย การเขียนสารคดีจำเป็นต้องมีการสำรองจ่ายเงินล่วงหน้า โดยเฉพาะในการเก็บข้อมูล แต่เมื่อได้ค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ทางแก้ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาไปพร้อมๆกันในหลายส่วน คือ
1. พัฒนาผู้เขียน กล่าวคือนักเขียนต้องมีจุดยืนที่มั่นคง และอาจะมีการสัมมนา เสวนา เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนางานของนักเขียนร่วมกัน
2. พัฒนาผู้อ่าน โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน เนื่องจากในปัจจุบันขาดบรรยากาศในการสร้างนักอ่านที่ดี การพัฒนาในครั้งนี้อาจรวมไปถึงกลุ่มผู้ปกครอง ครู และหลักสูตรการศึกษาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างจิตสำนึกทางการเมือง (ในความหมายของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) และจริยธรรม
3. การเพิ่มสนามหรือเวทีให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็อาจมีกิจกรรมที่เสริมเข้ามาเพื่อช่วยในการอบรมนักเขียนหรือบรม เยาวชนในด้านต่างๆ โดยเสนอให้สมาคมนักเขียนฯเป็นผู้สร้างกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในการต่อยอดใน เรื่องนี้ต่อไป
4. ฝากให้สมาคมนักเขียนฯช่วยประสานงานหรือเสนอต่อหน่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง เช่น เสนอกระทรวงวัฒนธรรมให้มีการจัดทำทำเนียบ 100 นักเขียนสารคดี หรือการให้สมาคมนักเขียนฯทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวมตัวของนักเขียน
7. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนา
7.1 การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก ประมาณ 120 คน ผู้ร่วมสัมมนาเหล่านี้มาจากหลายกลุ่มอาชีพและหลายกลุ่มอายุ ทำให้การประชุมกลุ่มย่อยมีประเด็นที่หลากหลาย แลได้รับมุมมองที่รอบด้าน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก
7.2 วิทยากรในการอภิปรายนับว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงจากการทำ งาน แต่ละคนต่างเสนอมุมมองในประเด็นที่นำมาอภิปรายได้อย่างชัดเจน และยกตัวอย่างให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยให้มองเห็นปัญหาและสถานการณ์ของนักเขียนในปัจจุบันชัดเจนขึ้น
7.3 ปัญหาของกลุ่มวรรณกรรมทุกกลุ่มมีทิศทางไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนักเขียนรุ่นใหม่ที่ละเลยการอ่านงานรุ่นเก่า และการขาดวุฒิภาวะบางประการของนักเขียนที่เป็นเยาวชน รวมไปถึงสื่ออินเตอร์เน็ตนับเป็นช่องทางสำคัญของนักเขียนหน้าใหม่ แม้ว่าทางหนึ่งก็ช่วยเป็นเวทีที่เปิดกว้างที่ทดแทนเวทีของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ แต่อีกทางหนึ่งก็น่าเป็นห่วงเนื่องจากงานเหล่านี้ขาดการคัดกรองก่อนที่จะนำ เสนอ จึงเป็นข้อด้อยในเรื่องมาตราฐานทั้งตัวงานและสำนวนภาษา
7.4 ปัญหาสำคัญที่ทุกกลุ่มเห็นตรงกันคือวัฒนธรรมการอ่านของเยาวชนน่า เป็นห่วง จึงควรมีมาตรการส่งเสริมในเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยจำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน ทั้งจากครอบครัว โรงเรียน และสังคม
นางสาวอรพินท์ คำสอน
ผู้สรุปรายงานการสัมมนา
http://www.thaiwriterassociation.org/columnread.php?id=21
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น